Skip to content

การปั๊มไดคัท

    การปั๊มไดคัท ในงานพิมพ์ เรื่องสำคัญที่ทุกคนควรต้องศึกษา

    อุตสาหกรรมงานพิมพ์ยังคงเป็นการทำงานที่ต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วย เพิ่มความสวยงาม พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กระนั้นงานพิมพ์ อย่าง “การปั๊มไดคัท” ถือเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ควรต้องศึกษาเพื่อการใช้งานที่ราบรื่นอย่างที่สุด ซึ่งหากใครยังพอคุ้นหูอยู่บ้างแต่ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าเป็นอย่างไร ให้ลองศึกษาข้อมูลดังต่อไปนี้

    การปั๊มไดคัทคืออะไร มีรูปแบบอย่างไรบ้าง

    การปั๊มไดคัท คือ การขึ้นรูปกระดาษโดยจะใช้การกดทับกระดาษให้ขึ้นเป็นรูปร่าง และได้ขนาดตามที่ต้องการซึ่งขึ้นอยู่กับมีดไดคัท หรือบล็อกปั๊มนั้น ๆ ส่งผลต่อชิ้นงานให้ออกมาในลักษณะวงรี วงกลม สี่เหลี่ยม หรือรูปร่างพิเศษต่าง ๆ ตามที่ออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นลายไทย รูปดาว ดอกไม้ เจาะให้เกิดรู หรือเจาะให้เกิดเป็นรูปทรงต่าง ๆ กระดาษโน้ต กล่องบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ โดยที่จะเป็นเทคนิคเน้นรูปร่างของชิ้นงานให้ต่างจากการเลือกใช้กระดาษทั่วไป มีเอกลักษณ์ในแบบฉบับเฉพาะตัว

    ทั้งนี้ รูปแบบของการปั๊มไดคัทนั้นจะใช้ใบมีดตัดโค้งงอเป็นแม่แบบให้เรา มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกมาก ไม่ว่าจะเป็น

    ⦁ การไดคัทสี่เหลี่ยม จะใช้เป็นบล็อกมีดลักษณะสี่เหลี่ยมปั๊มลงไป เรียกอีกอย่างว่าไดคัทสี่เหลี่ยม

    ⦁ การไดคัทเป็นลายต่าง ๆ จะเลือกใช้ไดคัทเป็นลายลักษณะเฉพาะเจาะจงไปเลย เช่น วงรี วงกลม สามเหลี่ยมเป็นไปตามรูปแบบนั้น ๆ เรียกอีกอย่างว่าไดคัทตามแบบ

    ⦁ การไดคัทสี่เหลี่ยมมุมมน จะเลือกใช้เป็นบล็อคใส่มีดลักษณะสี่เหลี่ยมมุมมนลงไป แล้วปั๊มให้เกิดรูปร่าง เรียกอีกอย่างว่าไดคัทมุมมน

    ⦁ การไดคัทปั๊ม 50% เหมาะกับงานที่เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์โดยเฉพาะ กระดาษรองหลังจะไม่มีขนาด ปั๊มลงใส่ใบพิมพ์ได้เลย แล้วลอกเอาสติ๊กเกอร์ไปใช้งาน 1 ใบพิมพ์มีหลายดวงได้เลย

    ⦁ การไดคัทปั๊ม 100% เหมาะกับงานที่เป็นชิ้น ๆ อย่างสติ๊กเกอร์ดวงใหญ่มาก หรือที่ต้องแจกเป็นดวง ๆ เอาไปลอกกันเอง รวมถึงงานพลาสติก งานกระดาษ งานกล่องบรรจุภัณฑ์ งานฉลากสินค้า เป็นต้น

    ส่วนใหญ่การปั๊มไดคัทเหมาะกับงานอะไร

    งานไดคัทนั้นสามารถสร้างสรรค์งานพิมพ์ได้เกือบทุกชนิด หากใครที่ต้องการให้ออกมามีรูปร่างพิเศษกว่าแบบปกติ ก็สามารถใช้งานไดคัทตกแต่งขอบของชิ้นงานได้ตามต้องการ อย่างนามบัตรที่หากต้องการให้มีรูปร่างตามธุรกิจที่ทำก็ได้เลย เช่น ธุรกิจขายเนื้อทำนามบัตรเป็นใบมีดก็ได้ หรืองานเกี่ยวกับเกษตร หรือ Eco-friendly ใช้นามบัตรรูปใบไม้ก็ได้ ธุรกิจอาหารทำนามบัตรรูปผลไม้ หรืออาหารเด่น ๆ ของร้านได้เลย ช่วยให้ผู้พบเห็นได้จดจำเราได้มากขึ้นด้วย นอกจากงานที่แนะนำเหล่านี้แล้วก็ยังเอาไปใช้ร่วมกับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ได้อีก

    แนะนำเครื่องตัดยอดนิยมที่ใช้เกี่ยวกับการปั๊มไดคัท

    การปั๊มไดคัทนั้นจะมีการนำเครื่องตัดมาใช้งานร่วมด้วย ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้ได้งานที่มีมาตรฐาน โดยมีให้ศึกษา 5 เครื่องตัดด้วยกัน ถือเป็นยอดนิยมเลยด้วย

    1. เครื่องไดคัทแบบพื้นเรียบ หรือ Flatbed Die Cutting
    จะตัดแบบลงเต็มหัวด้วยระบบไฮดรอลิกช่วยกดตัดออกรูปทรง ซึ่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจตามหลักการใช้งานเครื่อง คือช่วยลดต้นทุนการใช้เครื่องมือได้อย่างดี มีความยืดหยุ่นในการออกแบบงานสูงมาก และสามารถตัดยาง หรือวัสดุที่หนาขึ้น รูปทรงที่ไม่ใช้ความโค้งมนเครื่องพื้นเรียบเหมาะกับการนำมาใช้งานมาก
    2. เครื่องไดคัทแบบกดตัด หรือ Press Die Cutting
    มีตั้งแต่เครื่องใหญ่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงรุ่นเล็กกะทัดรัด ช่วยประหยัดพื้นที่การทำงาน เช่น เครื่องไดคัท Swing – Arm ที่ถูกเลือกใช้อย่างกว้างขวาง หรือแบบไฮดรอลิก 1 เสา โดยแบบกดนี้จะค่อย ๆ ตัดแบบลดระดับของแม่พิมพ์ที่จะยึดอยู่ด้านบนวัสดุเพื่อทำให้ชิ้นงานขาดออกจากกัน โดยมีแผ่นเขียง หรือโต๊ะรองตัดรองรับงานแบบผิวเรียบ ๆ จะใช้ระบบไฮดรอลิก หรือแรงกดชิ้นงานได้เลย
    3. เครื่องไดคัทแรงดันน้ำ หรือ Water Jet Die Cutting
    จะไม่มีการใช้แม่พิมพ์ในการตัด แต่จะใช้เป็นกระแสน้ำที่แรงดันสูง ๆ มาทำให้วัสดุถูกตัดออกจากกัน ซึ่งแรงดันนั้นเคลื่อนไวเร็วมาก 2 เท่าเลย นอกจากนี้ยังใช้ CAD ที่นำทางกระแสน้ำเพื่อสร้างรูปร่างได้ด้วย แม้แต่เหล็กก็สามารถตัดผ่านวัสดุได้หมดแม้แต่เหล็ก ความแม่นยำสูง ค่าใช้จ่าย ค่าบำรุงรักษาเครื่องนี้ค่อนข้างต่ำ
    4. เครื่องไดคัทแบบโรตารี่ หรือ Rotary Die Cutting
    ที่จะทำงานด้วยการหมุน โดยจะออกแบบด้วยทรงกระบอก เหมาะกับวัสดุที่อยู่ในรูปแบบม้วน แม่พิมพ์จะตัดออกมาอย่างแม่นยำ และรวดเร็วออก ทำให้ได้งานที่สวยงามราบรื่น ใครอยากให้ตัดปริมาณเยอะเหมาะมาก จะตัดแบบทะลุหรือไม่ทะลุในเวลาเดียวกันได้เลย
    5. เครื่องไดคัทตัดเลเซอร์ หรือ Laser Die Cutting

    Imageart ผลิตสิ่งพิมพ์ให้แบรนด์มาแล้วมากกว่า 5,000 แบรนด์